บทที่ 2 รูปแบบขององกรณ์ธุรกิจ

บทที่ 2
รูปแบบขององกรณ์ธุรกิจ

รูปแบบขององค์กรทางธุรกิจ
ในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องตัดสินใจเลือกรูปแบบการดำเนินธุรกิจของตนเองว่าจะดำเนินงานในรูปแบบองค์กรธุรกิจประเภทใด ซึ่งองค์กรธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ในประเทศไทยมีหลายรูปแบบ  แต่ละรูปแบบมีวิธีดำเนินงานผลดีและผลเสียที่แตกต่างกัน จำแนกตามลักษณะเจ้าของธุรกิจได้ 6 รูปแบบดังนี้
1.กิจการเจ้าของคนเดียว ( Single Proprietorship)
2.กิจการห้างหุ้นส่วน ( Partnership)
3.กิจการบริษัทจำกัด (Limited Company)
4.กิจการสหกรณ์ ( Co-operative Society)
5.กิจการแฟรนไชส์ (Franchise)
6.กิจการรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise)

1.กิจการเจ้าของคนเดียว ( Single Proprietorship)
กิจการเจ้าของคนเดียว คือกิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว  ควบคุมการดำเนินงานเองทั้งหมดคนเดียว  ตัวอย่างกิจการประเภทนี้ เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ร้านเสริมสวย การทำไร่ การทำนา แผงลอย
ลักษณะของกิจการเจ้าของคนเดียว
1.มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ใช้เงินลงทุนน้อย
2. เจ้าของกิจการมีความรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมดไม่จำกัดจำนวน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินของเจ้าของได้  ถ้าทรัพย์สินของกิจการไม่เพียงพอชำระหนี้
3. เจ้าของกิจการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งผลกำไรและผลขาดทุนเพียงคนเดียว
4. การควบคุมการดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการคนเดียว

2.กิจการห้างหุ้นส่วน ( Partnership)
กิจการห้างหุ้นส่วนจำกัด คือกิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันลงทุนและดำเนินกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งผลกำไรที่ได้จากการดำเนินงาน ซึ่งธุรกิจประเภทนี้สืบต่อมาจากธุรกิจเจ้าของคนเดียว
ลักษณะของกิจการห้างหุ้นส่วน
1. มีผู้ร่วมเป็นหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงทำสัญญาร่วมกันดำเนินงาน
2.มีการร่วมกันลงทุนโดยนำเงินสด ทรัพย์สินหรือแรงงานมาลงทุนตามข้อตกลง
3. มีการกระทำกิจการอย่างเดียวกันร่วมกัน
4. มีความประสงค์แบ่งผลกำไรกันตามข้อตกลง

ประเภทของกิจการห้างหุ้นส่วน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ  คือ ห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด  คือ ห้างหุ้นส่วนที่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายห้างหุ้นส่วนประเภทนี้ต้องใช้คำว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดประกอบหน้าชื่อของห้างหุ้นส่วนเสมอ  

3.กิจการบริษัทจำกัด (Limited Company)
                บริษัทจำกัด คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ

                ประเภทของบริษัทจำกัด
                1. บริษัทเอกชนจำกัด คือ บริษัทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนออกเป็นหุ้น ซึ่งแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆกัน โดยมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่เจ็ดคนแต่ไม่ถึง หนึ่งร้อยคน ผู้ถือหุ้นทุกคนต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือเท่านั้น และคุณสมบัติของผู้ถือหุ้นไม่เป็นข้อสาระสำคัญ
                2. บริษัทมหาชนจำกัด  หมายถึง บริษัทประเภทซึ่งตั้งด้วยความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ

4.กิจการสหกรณ์ ( Co-operative Society)
สหกรณ์ คือธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่จัดตั้งและดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลที่มีความประสงค์อย่างเดียวกันร่วมกันจัดตั้ง ลงทุน ดำเนินการและเป็นเจ้าของร่วมกันด้วยความสมัครใจ
ลักษณะของกิจการสหกรณ์
1. เป็นการร่วมลงทุนของบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยไม่จำกัดจำนวน
2. เป็นการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของบุคคลที่มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยไม่คำนึงถึงสินทรัพย์
3. ผู้สมัครสมาชิกต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่ใช่การบังคับ
4. สมาชิกทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการดำเนินงานสหกรณ์
5. มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในหมู่สมาชิกโดยไม่คำนึงถึงผลกำไร
6. การจัดตั้งมีการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการสหกรณ์

ประเภทของสหกรณ์
โดยในประเทศไทยได้แบ่งประเภทของสหกรณ์ตามประกาศของนายทะเบียนสหกรณ์เกี่ยวกับเรื่องการจัดประเภทสหกรณ์ตามกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2511 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2516 กำหนดประเภทสหกรณ์ที่รับจดทะเบียนรวมมี 6 ประเภท
1.สหกรณ์การเกษตร  เป็นสหกรณ์ที่มีสมาชิกประกอบด้วยเกษตรกร มีหน้าที่ ในการจัดหาและให้บริการแก่สมาชิกในด้านการผลิตการเกษตร
2.สหกรณ์การประมง จัดตั้งขึ้นในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและประกอบอาชีพด้านการประมง  รวมถึงการจัดหาเงินทุนและอุปกรณ์เกี่ยวกับการประมงมาจำหน่ายให้แก่สมาชิกในราคาถูก
3.สหกรณ์นิคม เป็นสหกรณ์ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาจัดสรรที่ดินให้แก่สมาชิกในการประกอบอาชีพรวมถึงการจัดหาและอำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพให้แก่สมาชิก
4.สหกรณ์ร้านค้า  เป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการด้านการจัดหาสินค้าอุปโภค บริโภคจำหน่ายแก่สมาชิกในราคายุติธรรม
5.สหกรณ์บริการ เป็นสหกรณ์ที่ให้บริการแก่สมาชิกในด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น สหกรณ์ไฟฟ้า สหกรณ์แท็กซี่ รถรับจ้าง สหกรณ์การเคหสถาน เป็นต้น
6.สหกรณ์ออมทรัพย์หรือสหกรณ์ธนกิจ เป็นสหกรณ์ที่สมาชิกร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการออมเงินในหมู่สมาชิก เพื่อให้สมาชิกได้กู้ยืมเงินในยามจำเป็นด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ

5. กิจการแฟรนไชส์ (Franchise)
กิจการแฟรนไชส์ อาจเรียกอีกอย่างว่า ธุรกิจสัมปทาน คือ ธุรกิจที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 กลุ่มขึ้นไปหรือมากกว่า ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบต่างกัน แต่จะส่งเสริมซึ่งกันและกันในระบบธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์จะกระจายสินค้าหรือบริการไปสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจากลักษณะของธุรกิจแฟรนไชส์จึงมีผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้ 2 ฝ่ายคือ
1. แฟรนไชซอร์ หรือ เจ้าของธุรกิจ คือ ผู้ให้สัมปทาน
2. แฟรนไชซี คือ ผู้ขอรับสัมปทาน

ประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์
ธุรกิจแฟรนไชส์หรือธุรกิจแบบสัมปทานมี 2 ประเภทคือ
1. ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทานที่ใช้สินค้าและชื่อการค้า เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย หรือผู้ให้สัมปทานให้สิทธิแก่ผู้รับสัมปทานหรือตัวแทนจำหน่าย ในการจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งของผู้ให้สัมปทาน โดยผู้รับสัมปทานจะได้รับชื่อสินค้า เครื่องหมายการค้า โดยถือเสมือนว่าเป็นผู้จำหน่ายในสายผลิตภัณฑ์เดียวกับผู้ให้สัมปทาน  เช่น ตัวแทนจำหน่ายน้ำอัดลมโคคา-โคล่า สถานีบริการน้ำมันเชลล์ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฟอร์ด เป็นต้น
2. ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทานที่ใช้รูปแบบทางธุรกิจ เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ให้สัมปทานให้สิทธิแก่ผู้รับสัมปทานในการขายสินค้าหรือบริกี่โดยใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ให้สัมปทาน เช่น พิซซ่าฮัท เคเอฟซี เซเว่น-อีเลฟเวน เป็นต้น

6.กิจการรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise)
กิจการรัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์กรของรัฐบาล หน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐบาลมีทุนรวมอยู่ด้วย เกินกว่าร้อยละ 50 มีการบริหารงานอยู่ระหว่างระบบราชการและระบบธุรกิจ
สาเหตุที่รัฐบาลเข้ามาดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ
1.เพื่อหารายได้เข้ารัฐบาลนอกเหนือจากการเก็บภาษีอากร
2.เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน
3.เพื่อป้องกันการผูกขาดและการเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการเอกชน
4.กิจการบางอย่างต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก
5. เพื่อความมั่นคง ความสงบและความปลอดภัยของประเทศชาติ
6. เพื่อควบคุมการผลิต หรือการบริโภคสินค้าบางชนิด   
7.เพื่อเป็นการส่งเสริมเอกลักษณ์ วัฒนธรรมและเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศ

ประเภทของรัฐวิสาหกิจ
การจำแนกประเภทของรัฐวิสาหกิจไทย สามารถจำแนกได้ 2 ลักษณะ ตามลักษณะ การจัดตั้งและจำแนกตามรายได้ที่นำส่งแก่รัฐ
1.จำแนกตามลักษณะการจัดตั้ง สามารถจำแนกได้ดังนี้
1.1 ประเภทองค์กรและโรงงาน
1.2 ประเภทสำนักงานและกิจการอื่น
1.3 ประเภทธนาคารและบริษัทที่รัฐบาลถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50
1.4 แบ่งตามหน่วยงานที่รัฐวิสาหกิจสังกัด
2.จำแนกตามรายได้ที่นำส่งแก่รัฐ
2.1 รัฐวิสาหกิจประเภทผูกขาด
2.2 รัฐวิสาหกิจประเภทกึ่งผูกขาด
2.3 รัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภค
2.4 รัฐวิสาหกิจประเภทอุตสาหกรรม
2.5 รัฐวิสาหกิจประเภทอื่น ๆ
2.6 รัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทจำกัด


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2
1.          ข้อใดหมายถึง กิจการเจ้าของคนเดียว
ก.     คือธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่จัดตั้งและดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลที่มีความประสงค์อย่างเดียวกันร่วมกันจัดตั้ง
ข.     คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นเท่า ๆ กัน
ค.     คือกิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันลงทุนและดำเนินกิจการ
ง.     คือกิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว

2.          ข้อใดหมายถึง กิจการห้างหุ้นส่วนจำกัด
ก.     คือธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่จัดตั้งและดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลที่มีความประสงค์อย่างเดียวกันร่วมกันจัดตั้ง
ข.     คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นเท่า ๆ กัน
ค.     คือกิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันลงทุนและดำเนินกิจการ
ง.     คือกิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว

3.          ข้อใดหมายถึง กิจการบริษัทจำกัด
ก.     คือธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่จัดตั้งและดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลที่มีความประสงค์อย่างเดียวกันร่วมกันจัดตั้ง
ข.     คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นเท่า ๆ กัน
ค.     คือกิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันลงทุนและดำเนินกิจการ
ง.     คือกิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว

4.          ข้อใดหมายถึง กิจการสหกรณ์
ก.     คือธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่จัดตั้งและดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลที่มีความประสงค์อย่างเดียวกันร่วมกันจัดตั้ง
ข.     คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นเท่า ๆ กัน
ค.     คือกิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันลงทุนและดำเนินกิจการ
ง.     คือกิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว

5.          ข้อใดหมายถึง ธุรกิจสัมปทาน
ก.     กิจการสหกรณ์
ข.     กิจการรัฐวิสาหกิจ
ค.     กิจการแฟรนไชส์
ง.     กิจการบริษัทจำกัด

6.          ข้อใดหมายถึง องค์กรของรัฐบาล
ก.     กิจการสหกรณ์
ข.     กิจการรัฐวิสาหกิจ
ค.     กิจการแฟรนไชส์
ง.     กิจการบริษัทจำกัด

7.          ข้อใดหมายถึง ลักษณะของกิจการเจ้าของคนเดียว
ก.     มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ใช้เงินลงทุนน้อย
ข.     มีการกระทำกิจการอย่างเดียวกันร่วมกัน
ค.     ผู้สมัครสมาชิกต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่ใช่การบังคับ
ง.     เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน

8.          ข้อใดหมายถึง ลักษณะของกิจการห้างหุ้นส่วน
ก.     มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ใช้เงินลงทุนน้อย
ข.     มีการกระทำกิจการอย่างเดียวกันร่วมกัน
ค.     ผู้สมัครสมาชิกต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่ใช่การบังคับ
ง.     เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน

9.          ข้อใดหมายถึง ลักษณะของกิจการสหกรณ์
ก.     มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ใช้เงินลงทุนน้อย
ข.     มีการกระทำกิจการอย่างเดียวกันร่วมกัน
ค.     ผู้สมัครสมาชิกต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่ใช่การบังคับ
ง.     เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน

10.     ข้อใดหมายถึง สาเหตุที่รัฐบาลเข้ามาดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ
ก.     มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ใช้เงินลงทุนน้อย
ข.     มีการกระทำกิจการอย่างเดียวกันร่วมกัน
ค.     ผู้สมัครสมาชิกต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่ใช่การบังคับ
ง.     เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน

เฉลย 1.ง  2.ค  3.ข  4.ก  5.ค  6.ข  7.ก  8.ข  9.ค  10.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิชาเสริม Blogger